fbpx

จองออนไลน์ 24 ชั่วโมง (ไม่หลับไม่นอน)

Blog Post

ล่องเรือชมสถานที่สำคัญริมแม่น้ำ พร้อมดินเนอร์หลักร้อย วิวหลักล้าน

ล่องเรือดินเนอร์แม่น้ำเจ้าพระยา นอกจากจะได้ อิ่มอร่อยกับบุฟเฟ่ต์นานาชาติแล้ว ท่านยังจะได้ชมสถานที่สำคัญริมแม่น้ำเจ้าพระยา ยามค่ำคืน ที่สวยงามประดับด้วยแสงไฟ สวยงามมากๆ ค่ะ 

เส้นทางล่องเรือผ่านสถานที่สำคัญที่น่าสนใจ ดังนี้….

สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า

เป็นสะพานที่สร้างขึ้นในปี 2516 เพื่อเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา โดยได้รับพระราชทานนามว่า “สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า” เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็ดพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพื้นที่ของสะพานทางฝั่งพระนครนั้นเคยเป็นเขตของพระราชวังบวรสถานมงคล

สะพานกรุงธน (สะพานซังฮี้)

ประกอบด้วยโครงสะพานเหล็กยาว 6 ช่วง เชิงสะพานทั้งสองฝั่งเป็นคอนกรีต มีทางเข้าขนาบสองข้าง ช่วงลอดกลางสะพาานสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 7.50 เมตร เป็นสะพานที่เปิดไม่ได้ เปิดใช้เมื่อ 7 มิ.ย. 2500

สะพานพระพุทธยอดฟ้า

เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ที่เชื่อระหว่างฝรั่งกรุงเทพฯ กับฝั่งธนบุรี สร้างขึ้นในสมัย รัชการที่ 7 เมื่อปี พ.ศ. 2472 เนื่องในโอกาสสถาปนากรุงเทพมหานครครบ 150 ปี

สะพานพระปกเกล้า

เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ที่เชื่อมระหว่างถนนจักรเพชร กับถนนประชาธิหก เป็นสะพานคู่ขาไปและขากลับ สร้างขนาดกันกับสะพานพระพุทธยอดฟ้า

สะพานพระราม 8

เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ 13 ของกรุงเทพฯ โดยเริ่มเปิดใช้ตั้งแต่วันที่ 7 พ.ค. 2545

ป้อมวิไชยประสิทธิ์ (ป้อมบางกอก)

ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงปากคลองบางกอกใหญ่ ภายในกองบัญชาการกองทัพเรือ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ พื้นที่เดียวกับพระราชวังเดิม ฝั่งตรงข้ามกับโรงเรียนราชินีในปัจจุบัน และอยู่ห่างจากวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ประมาณ 500 เมตรเท่านั้น

วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารเป็นพระอารามหลวงช้นโท ชนิดวรมหาวิหาร อยู่ในเขตการปกครอง คณะสงฆ์มหานิกายภาค 1 สร้างในสมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดบางว้าใหญ่ ในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรางสร้างพระราชวังใกล้วัดบางว้าใหญ่ โปรดเกล้าฯ ให้ยกเป็นพระอารามหลวงและเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)

เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก และเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๑ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดโพธารามวัดเก่าที่เมืองบางกอกครั้งกรุงศรีอยุธยา พระบรมมหาราชวัง และที่ใต้พระแทนประดิษฐานพระพุทธเทวปฏิมากร พระประธานในพระอุโบสถเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระองค์ท่านไว้ด้วย

วัดกัลยาณมิตร

เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัย เมื่อ พ.ศ. 2368 โดย เจ้าพระยานิกร บดินทร์ (โต กัลยาณมิตร) ได้อุทิศบ้านและซื้อที่ดินข้างเคียงเพิ่มเติม เพื่อสร้างวัด แล้วน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.3) พระราชทานนามว่า วัดกัลยาณมิตร และทรางสร้างพระราชทานทั้งพระวิหารหลวง และพระประธานสำหรับพระวิหารหลวง คือ หลวงพ่อโต หรือ พระพุทธไตรรัตนนายก โดยทรงมีพระราชประสงค์ให้เป็นพระพุทธรูปใหญ่อยู่ริมแม่น้ำแบบเดียวกันกับที่วัดพนัญเชิงกรุงเก่า

วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง)

เป็นวัดโบราณ สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา เดิมเรียกว่า วัดมะกอก และกลายเป็นวัดมะกอกนอก ในเวลาต่อมา เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกหนึ่งวัดในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน ผวัดนวลนรดิศ) แล้วจึงเรียกวัดมะกอก อยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดมะกอกนอก ส่วนที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งนั้น เชื่อกันว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีใน พ.ศ. ๒๓๑๐ ได้เสด็จมาถึงวัดนี้ในตอนแจ้ง แต่ความเชื่อนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเพลงยาวหม่อมภิมเสิน วรรณกรรมสมัยอยุธยา ที่บรรยายการเดินทางจากอยุธยาไปยังเพชรบุรี ได้ระบุชื่อวัดนี้ไว้ว่าชื่อวัดแจ้งตั้งแต่เวลานั้นแล้ว

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)

เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2325 เป็นวัดในพระราชวัง ทรงมีพระราชประสงค์ให้เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต ที่นำมาจากกรุงเวียงจันทร์