fbpx

จองออนไลน์ 24 ชั่วโมง (ไม่หลับไม่นอน)

Blog Post

ว้าว !!! 7 ความจริงเกี่ยวกับอาหารซีฟู๊ด

วันนี้มาพบกับเรื่องราวดีๆ ที่น่ารู้เกี่ยวกับอาหารที่คนไทยอย่างเราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี นั่นก็คือ “ซีฟู๊ด”ครับ แต่แน่นอนครับว่า ถึงแม้จะเป็นอาหารที่เราคุ้นเคย แต่เรื่องที่เอามาฝากวันนี้ ถือเป็นสิ่งที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนแน่ๆ เพราะมันคือความจริงเกี่ยวกับซีฟู๊ดจานโปรดต่างๆ เอาเป็นว่า เราอย่ารอช้า ไปดูกันเลยครับว่ามีความจริงที่น่าประหลาดใจเกี่ยวกับซีฟู๊ดอะไรรอพวกเราอยู่บ้าน เผื่อว่า เพื่อนๆ ได้มีโอกาสไปทานบุฟเฟ่ต์ซีฟู๊ดคราวหน้า เพื่อนๆ จะได้มีความรู้เกี่ยวกับอาหารจานโปรดของเพื่อนๆ มากขึ้นไงล่ะครับ

1. ความจริงของ “เส้นสีดำ” หลังตัวกุ้ง
กุ้ง เป็นหนึ่งในอาหารทะเล หรือซีฟู๊ด ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ไม่ว่าไปทานบุฟเฟ่ต์ซีฟู๊ดโรงแรมไหน กุ้งถือเป็นหนึ่งในพระเอกหลักๆ เลยครับ และสำหรับกุ้งนั้น มีเรื่องที่ได้รับการถกเถียงกันมานานแล้ว เกี่ยวกับเส้นสีดำๆ ที่อยู่หลังตัวกุ้ง ว่ามันคืออะไร จำเป็นที่จะแกะออกก่อนประกอบอาหารหรือไม่ หากไม่ถอดออก จะเป็นอันตรายหรือเปล่า ซึ่งความจริงก็คือ เส้นสีดำหลังตัวกุ้งนั้น ไม่ใช้เส้นเลือดดำนะครับ แต่เป็นส่วนของลำไส้ของกุ้งนั่นเอง นั่นหมายความว่า หากเราทานเข้าไป เราก็ทานสิ่งที่กุ้งได้บริโภคเข้าไปนั่นเองครับ จึงไม่เป็นอันตรายใดๆ ทั้งสิ้น แต่ความแตกต่างจะอยู่ที่รสชาติเท่านั้นครับ มีผู้ทดลองทานกุ้งที่มีเส้นและไม่มีเส้นพบว่ารสชาติต่างกัน เพราะฉะนั้น ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคลนั่นเองครับ คราวนี้ เวลาไปทานบุฟเฟ่ต์ซีฟู๊ดครั้งหน้า ก็อย่าลืมแบ่งปันเรื่องดีๆ แบบนี้ให้เพื่อนๆ ฟังนะครับ

2. คนท้องไม่ควรกินปลาเกินสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
หลายๆ คนอาจจะสงสัยว่า ทำไมคนท้องถึงไม่ควรกินปลา ทั้งๆ ที่กินปลาคือเรื่องที่ดี และมีประโยชน์ไม่ใช่หรือ? คำตอบก็คือ เพราะปลาเป็นสัตว์ที่มีแบคทีเรียหลายชนิดที่ไม่เหมาะกับคนท้องครับ และในตัวปลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาดิบ ที่ไม่ได้รับการปรุงสุก อาทิ ซาชิมิ หรือซูชิในอาหารญี่ปุ่นนั้น อาจมีส่วนปนเปื้อนเล็กน้อยของปรอท ที่จะส่งผลต่อทารกได้นั่นเองครับ เพราะฉะนั้น ทานได้ แต่ทานได้เพียงเล็กน้อยนั่นเอง

3. เนื้อปูมีวิตามิน B12 สูงมาก
สำหรับใครก็ตามที่ทุกวันนี้ต้องทานวิตามิน B เสริมอยู่เป็นประจำ ฟังทางนี้เลยครับ เพราะผลการวิจัยออกมาแล้วว่าเนื้อปู เป็นอาหารซีฟู๊ดที่มีวิตามิน B12 สูงมาก ซึ่งเป็นวิตามินที่ช่วยเราในเรื่องของระบบประสาท สมอง ทำให้ช่วยป้องกันโรคความจำเสื่อม เป็นต้น เพราะฉะนั้น คราวหน้า หากได้ไปทานบุฟเฟ่ต์ซีฟู๊ด ก็อย่าลืมจัดเนื้อปูแน่นๆ มาบำรุงสมองกันทั้งครอบครัวเลยนะครับ

4. วิธีปรุง “ปลา” ให้สุกใช้ความร้อนปานกลางเท่านั้น
ใครที่ชื่นชอบทำอาหารเมนูปลา เรื่องนี้สำคัญครับ เพราะหากเราใช้ความร้อนปานกลางในการทำอาหารเมนูปลา จะเป็นวิธีเดียวที่ทำให้ความชุ่มชื้นในเนื้อปลาคงอยู่มากที่สุดจนถึงเวลาที่เราทานครับ ซึ่งจะเป็นการรักษารสชาติของเนื้อปลาได้ดีที่สุดนั่นเอง แต่ถ้าเราใช้ความร้อนที่สูงมากจนเกินไปในการทำให้ปลาสุก ปลาก็จะเสียความชื้นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เนื้อปลาไม่อร่อยนั่นเองครับ คำแนะนำก็คือ ให้ใช้ความร้อนไม่เกิน 350 องศาฟาเรนไฮต์เท่านั้นครับ

5. หนึ่งในการทำให้ “ปลาดิบ” ปลอดภัยในการทานคือแช่แข็ง
คนอาจคิดว่าปลาดิบที่เราทานนั้น คือปลาสดๆ ผ่านการแล่ และนำมาเสิร์ฟให้เราทานเลย ซึ่งไม่ใช่นะครับ ปลาทั้งหมด นอกจากจะผ่านกระบวนการล้างให้สะอาดแล้ว อีกขึ้นตอนที่สำคัญมากๆ ในการทำให้ปลาดิบที่เราทาน สะอาดปลอดภัย คือการแช่แข็ง ที่อุณหภูมิที่เย็นจัดนั่นเองครับสาเหตุก็เพราะ อุณหภูมิที่เย็นจัดมากๆ จะช่วยฆ่าแบคทีเรียที่อยู่ในตัวปลาได้นั่นเองครับ

6. อาหารซีฟู๊ด มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูงมาก
หลายคนที่ชื่นชอบอาหารทะเล ชอบทานบุฟเฟ่ต์ซีฟู๊ดบ่อยๆ แต่หลายครั้งก็อาจจะรู้สึกผิดเพราะกลัวอ้วน จริงๆ แล้ว อาหารทะเลก็มีข้อดีอยู่มากนะครับ โดยเฉพาะอาหารเมนูปลา อย่างปลาแซลมอน ปลาทูน่า เพราะอาหารเหล่านี้มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูงมาก ซึ่งเป็นกรดไขมันแบบดี ที่ร่างกายสามารถไปใช้ประโยชน์ต่อได้ โดยเฉพาะต่อหัวใจของเรานั่นเอง เหมือนกับที่เขาว่า ทานแล้วดีต่อใจนั่นเองครับ

7.หอยแมลงภู่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก
หอยแมลงภู่เป็นหอยอีกชนิดหนึ่งที่อุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิด หนึ่งในนั้นคือ ‘ธาตุเหล็ก’ ที่เหมาะกับผู้ที่ร่างกายสูญเสียเลือดมาก ยกตัวอย่างเช่น หญิงในช่วงมีประจำเดือน หรือผู้ที่มีภาวะเลือดจางโดยการรับประทานหอยแมลงภู่จะเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่ช่วยบำรุงเลือดจากภายใน หอยแมลงภู่เป็นอาหารทะเลไม่กี่ชนิดที่มีแคลอรีต่ำ โดยผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักในช่วงนี้สามารถรับประทานหอยแมลงภู่เพื่อให้พลังงานได้ โดยอาจรับประทานแบบลวกเพื่อลดปริมาณน้ำมันหรือรับประทานเป็นขี้เมาที่ผัดกับพริกไทยอ่อนเพื่อเพิ่มการเผาผลาญก็ดีไม่น้อย

สนใจรับประทานอาหารซีฟู๊ดที่มีประโยชน์และรับชมวิวอันสวยงามยามค่ำคืนของแม่น้ำเจ้าพระยา